ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลโรงพยาบาล

ที่อยู่ : 215 หมู่ 6 ตำบลโคกคราม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี 72150 โทร. 035-586243-6

เจ้าของ/ต้นสังกัด

โรงพยาบาลรัฐบาลต้นสังกัดในส่วนกลาง (กรม/กระทรวง) สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุขต้นสังกัดในพื้นที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

ลักษณะบริการ

จำนวนเตียงผู้ป่วยใน (ไม่รวมเตียงทารกคลอดปกติ) : 60 เตียง ระดับของการให้บริการ โรงพยาบาลชุมชนขนาด : 60 เตียง

อาคารสถานที่ เทคโนโลยีและอุปกรณ์

สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ อาคารสถานที่ ได้แก่ อาคารผู้ป่วยนอก อาคารผู้ป่วยนอก 10 เตียง(เดิม) อาคารผู้ป่วยใน 30 เตียง อาคารผู้ป่วยในและห้องคลอด อาคารสงฆ์อาพาธ อาคารซักฟอกและโรงอาหาร อาคารคลังยาและวัสดุโรงไฟฟ้า โรงบำบัดน้ำเสีย ห้องพักขยะ ที่

ตราสัญลักษณ์ ประจำโรงพยาบาลบางปลาม้า

วิสัยทัศน์

โรงพยาบาลชุมชนที่มีเครือข่ายสุขภาพเข้มแข็ง ระบบบริการที่มีคุณภาพ บุคลากรที่มีคุณธรรม

พันธกิจ

1. ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพตนเองในชุมชน 2. พัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีคุณภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ 4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน 5. เชื่อมโยงการทำงานโดยมีภาคีเครือข่ายสุขภาพมีส่วนร่วม

เข็มมุ่ง/จุดเน้น

Organizational Core Competency ของโรงพยาบาลบางปลาม้า ได้แก่ “ความสามารถในการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพในชุมชน” ประกอบด้วย 1.ความสามารถในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน เป็นความสามารถพื้นฐานของบุคลากรโรงพยาบาลบางปลาม้าในการส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในทุกกลุ่ม ทั้งในกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง กลุ่มดี คลอบคลุมทุกพื้นที่บริการ ทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนทั่วทั้งอำเภอบางปลาม้า เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 2.ความสามารถในการรักษาพยาบาลในชุมชน เป็นความสามารถในการทำงานรักษาพยาบาลร่วมกันกับเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อของการรักษาพยาบาลระหว่างโรงพยาบาลและเครือข่ายสุขภาพในชุมชน และประชาชนได้รับบริการรักษาพยาบาลใกล้บ้าน 3.ความสามารถในการป้องกันโรคในชุมชน เป็นความสามารถในการทำงานป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและการป้องกันภาวะฉุกเฉินต่างๆ เช่น การป้องกันสาธารณภัยต่างๆ การป้องกันอุบัติเหตุจราจร ร่วมกับเครือข่ายสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนอำเภอบางปลาม้าปลอดภัยจากโรคระบาดและอุบัติภัยต่างๆ 4.ความสามารถในการฟื้นฟูสุขภาพในชุมชน เป็นความสามารถในการทำงานฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยตั้งแต่ในโรงพยาบาลเชื่อมโยงไปยังชุมชน เพื่อให้ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลฟื้นฟูสุขภาพร่วมกันกับเครือข่ายสุขภาพของชุมชนเอง

ยุทธศาสตร์

1. Network ยกระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพครอบคลุมทั่วทั้งอำเภอบางปลาม้า 2. Service พัฒนาระบบบริการ 3 ระบบ สู่ความเป็นเลิศ ในระดับ 1 ใน 3 ของจังหวัดสุพรรณบุรี 3. Team ส่งเสริมบุคลากรให้เป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข

ค่านิยม

1. Health promotion = การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง การส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาล เพิ่มสมรรถนะในการควบคุมและปรับปรุงสุขภาพของตนเอง ในการบรรลุซึ่งสุขภาวะอันสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และ สังคม ตลอดจนสามารถชี้แนะหรือเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการส่งเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วย ญาติ และประชาชนได้อย่างเหมาะสม 2. Humanized Health Care = การดูแลด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ มีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ข้อข้อแรก คือ ความสามารถในการมองเห็นองค์รวม หมายถึง การมองเห็นผู้ป่วยทั้งคนได้โดยไม่แยกส่วนเป็นอวัยวะหรือแม้กระทั่งแยกส่วนเป็นวิชาชีพ ข้อสอง คือ ความสามารถในการมองเห็นมนุษย์ หมายถึง การฟังเสียงหรือมองเห็นผู้ป่วยจริงๆ ไม่ใช่ฟังเสียงที่เราอยากฟัง หรือมองเห็นในสิ่งที่เราอยากจะมอง และข้อสาม คือ ความสามารถในการมองเห็นความทุกข์ หมายถึง ความสามารถที่จะสัมผัสความทุกข์ของผู้ป่วย โดยไม่ได้พุ่งความสนใจไปที่ตัวโรคแต่เพียงอย่างเดียว แล้วละเลยความทุกข์ของผู้ป่วย 3. Organization Development = การพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง หมายถึง การส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ผลงาน นวตกรรม R2R การวิจัย อย่างต่อเนื่องและยั้งยืน เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ 4. Community = เน้นชุมชน หมายถึง การทำงานโดยเน้นครอบครัวและชุมชนให้มีส่วนร่วม สามารถดูแลตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้ในทุกมิติทั้งในด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสุขภาพ 5. Co-ordination = ความร่วมแรงร่วมใจ หมายถึง การดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของทั้งบุคลากรในโรงพยาบาล ผู้ป่วย ญาติ ครอบครัว ชุมชน และทุกภาคส่วน ทั้งในระบบราชการและเอกชน เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพของประชาชนให้มีสุขภาวะที่ดี